เรื่องของ "ด้วง"

Bettle ビートル คือ?

           ด้วง คือแมลงปีกแข็ง อยู่ในแมลงกลุ่ม Coleoptera ซึ่งนับกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดในโลกเนื่องจากมีปริมาณมากถึง 40% ของแมลงทั้งหมด และมีมากกว่า 400,000 ชนิด มีวงจรชีวิต 4 ลำดับ ได้แก่ 1.ไข่ 2.หนอน 3.ดักแด้ 4.ตัวเต็มวัย เมื่อมันโตเต็มวัยจะมีปีก 2 คู่ ปีกคู่หน้าจะมีลักษณะแข็งใช้ในการป้องกันศัตรูและทรงตัว ส่วนปีกคู่หลังมีลักษณะโปร่งแสงซ่อนอยู่ใต้ปีกคู่หน้าใช้ในการบิน 

พันธ์ุด้วงในประเทศไทย

ด้วงกว่าง

      คนไทยนิยมเลี้ยงด้วงกว่างกันมากที่สุด เนื่องจากนิสัยของมันนั้นมีวิญญาณนักสู้อยู่ในตัว ตามสัญชาตญาณของมันนั้นจะต้องต่อสู้กันเพื่อแย่งตัวเมียในการผสมพันธ์ อาวุธที่ใช้ต่อสู้กันก็คือเขาของมัน ซึ่งแต่ละตัวจะมีเขาอย่างน้อย 1 เขา และมีมากที่สุดได้ถึง 5 เขา มันจะใช้เขาชน คีบยก หนีบ เพื่อทำให้คู่ต่อสู้ยอมแพ้ การต่อสู้ของพวกมันจะไม่ดุเดือดเลือดสาดเหมือนสัตว์ชนิดอื่น เนื่องจากผิวของมันมีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ทั้งตัว ทำให้ไม่สามารถที่จะใช้เขาทำอันตรายกันถึงชีวิตได้ แต่ในการต่อสู้ที่เข้มข้นนั้นบางครั้งก็อาจทำให้เขาของมันหักได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะตัวที่มี 2-3 เขานั้นจะสามารถทำความเสียหายได้มากกว่ารูปแบบเขาอื่นๆ 

ด้วงสาคู (งวงมะพร้าว)

จริงๆแล้วด้วงสาคูเป็นศัตรูพืชต้นไม้จำพวกปาล์ม ไม่ว่าจะเป็น ต้นอินทผาลัม ตาล มะพร้าว หากเกิดการระบาดของมันในสวนแล้วตัวอ่อน ทั้งหลายจะกัดกินใบอ่อน พอโตเต็มวัยก็จะเจาะเข้าไปกินกลางต้นจนทำให้ตายกันทั้งสวน แต่ภายหลังกลับกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่คนนิยมเลี้ยงกัน เนื่องจากสามารถใช้เป็นอาหารได้ โดยมีพ่อครัวพิศดารหัวใส นำตัวอ่อนของมันในช่วงที่เป็นดักแด้ มาปรุงเป็นอาหาร ใช้ทอดบ้าง แช่น้ำปลาบ้าง ซึ่งก็มีคนบางกลุ่มติดใจรสชาติความอร่อยของมัน จนทำให้ราคาพุ่งทะยานสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 200 บาท เหล่าเกษตรกรก็พากันเพาะเลี้ยงเพื่อส่งขายตามร้านอาหาร 

พันธ์ุที่มักจะเรียกสับสนกัน

ด้วงมะพร้าว (ศัตรูพืชตัวฉกาจ)

เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ด้วงแรดมะพร้าว ココナッツ・サイ(Coconut rhinoceros)มักจะเรียกผิดกับด้วงงวงมะพร้าว แรดมะพร้าวเป็นด้วงกว่างชนิดหนึ่ง แต่ไม่มีคนนิยมนำไปเลี้ยง เนื่องจากเขาของมันเล็กและและไม่แข็งแรงเท่าชนิดอื่นๆ ลำตัวของมันมีขนโดยรอบ เป็นศัตรูพืชตัวฉกาจของพืชตระกูลปาล์มเช่นเดียวกัน ตัวเต็มวัยจะชอบเจาะบริเวณยอดของต้น ทำให้ใบอ่อนเสียหาย ส่วนการวางไข่นั้นจะหาจุดที่มีใบร่วงอยู่ตามพื้นเป็นดักแด้ประมาณ 1 เดือนและใช้เวลา 2 เดือนเพื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ มันมีวงรอบชีวิตสั้น เติบโตเร็วและเป็นสิ่งที่ชาวสวนปาล์ม สวนมะพร้าว เอือมระอาเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากหากเข้ามาแพร่พันธ์แล้ว ทำให้ผลิตผลตกต่ำ และมีความยุ่งยากในการตามกำจัดให้หมดไปจากสวน

พวกมันคือสมาชิก Coleoptera